หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

พายุหมุนนกเตน

                      พายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงนกเตน เป็นพายุหมุนเขตร้อนซึ่งสร้างความเสียหายแก่ตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นพายุลูกที่แปดที่ได้รับการตั้งชื่อและพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงลูกที่สี่ในฤดูไต้ฝุ่นแปซิฟิก 2554 นกเตน ตั้งตามชื่อนกที่พบในประเทศลาวชนิดหนึ่ง ขึ้นฝั่งแล้ว 3 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 55 คน และสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 99 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ



ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา


เส้นทางของพายุ
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกในอีกหลายวันถัดมา และในวันที่ 24 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวซึ่งเป็นพายุดีเปรสชัน วันรุ่งขึ้นสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชัน อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง สำนักงานด้านบรรยากาศ ภูมิฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวที่เป็นพายุดีเปรสชัน และตั้งชื่อว่า "Juaning" ระบบดังกล่าวเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงเที่ยงคืนของวันนั้น JMA ได้ยกระดับระบบดังกล่าวเป็น พายุหมุนเขตร้อน และตั้งชื่อว่า นกเตน
วันที่ 27 กรกฎาคม JMA รายงานว่า นกเตนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นและยกระดับความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา JTWC รายงานว่า นกเตนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 อย่างรวดเร็ว และเริ่มขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์และค่อยอ่อนกำลังลง ในวันเดียวกัน JMA รายงานว่า นกเตนพัดออกจากเกาะลูซอนแต่ยังคงมีความรุนแรงเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงอยู่อย่างไรก็ตาม ชั่วข้ามคืน พายุกลับอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและ JMA ลดระดับพายุลงเหลือพายุหมุนเขตร้อนกำลังเบาในวันรุ่งขึ้
วันที่ 29 กรกฎาคม พายุกลับค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งและมุ่งหน้าเข้าสู่ชายฝั่งทางใต้ของจีน และขึ้นฝั่งที่ฉงไห่วันเดียวกัน พายุทวีความรุนแรงขึ้นขณะพัดอยู่เหนือพื้นดินและมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังไหโข่ว เมืองหลวงของมณฑลไหหนาน พายุดังกล่าวอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และเที่ยงคืนวันนั้น JMA ซึ่งออกประกาศเตือนครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับระบบ ลดความรุนแรงลงเหลือหย่อมความกดอากาศต่ำ
ก่อตัว24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สลายตัว31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ความเร็วลม
สูงสุด
95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.(10-minute sustained)
120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.)(ค่าเฉลี่ย 1-นาที)
ความกดอากาศต่ำสุด984 ปาสกาล (มิลลิบาร์)
ผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ
และสูญหาย
เสียชีวิตมากกว่า 55 คน สูญหาย 26 คน
ความเสียหาย$99 ล้าน (ปี 2011)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม ไทย
ที่มา
นาย พงศกร หรั่งทอง ม.5/8 เลขที่ 45

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น