หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาคเหนือ

อาหารประจำภาคเหนือ


ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้นคำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่ของคนจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคนมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" คุณพิศาล บุญปลูก คนรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า "จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก" นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม"
อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม


ประเพณียี่เป็ง

ถึงเทศกาลประเพณีลอยกระทงประจำปี 2550 นี้ ข่าวคราวกิจกรรมการลอยกระทงก็มีการจัดอยู่ทั่วทุกจังหวัด ไม่ได้หมายความว่าประเพณีการลอยกระทง ไม่ได้อยู่เพียงแค่จังหวัดสุโขทัย หรือเชียงใหม่ ทุกภาคทุกจังหวัดก็มีการจัดกิจกรรมลอยกระทงทุกแห่งพร้อมกัน อาจแตกต่างกันในเนื้อหาและรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละจังหวัด หรือประเพณีดั้งเดิมที่มาช้านาน

วันเพ็ญเดือนสิบสองที่เชียงใหม่ที่ทุกคนต่างทราบข่าวกันมาว่า จะมีงานปล่อยโคมลอยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นโดยธุดงค

สถานล้านนา เป็นสาขาแห่งหนึ่งของวัดธรรมกาย อยู่ที่แม่โจ้ ดังนั้นเราจึงมุ่งหน้าสู่พุทธสถานแห่งนี้ตั้งแต่เที่ยงวัน 

เพื่อเก็บข้อมูล เตรียมแผนการถ่ายภาพ พร้อมกับถ่ายภาพกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่ทางสำนักธุดงคสถานล้านนาเข้า

ได้จัดขึ้น ซึ่งมีทั้งการเปิดพิธี โดยมีริ้วขบวนอัญเชิญผ้าไตร พิธีทอดกฐินสามัคคี เมื่อเสร็จแล้วจะหยุดพักชั่วคราว จะมี

งานเริ่มพิธีภาคค่ำ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จุดประทีปโคมไฟ, เวียนเทียน,ปล่อยโคมยี่เป็ง
ความมุ่งหมายการเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพื่อต้องการบันทึกภาพเรื่องราวของ การลอยโคมยี่เป็ง อันเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก และจัดอย่างยิ่งใหญ่ในที่แห่งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยประทีปโคมลอย ประดุจดั่งว่าหมู่โคมเหล่านี้ แทนดวงใจความเลื่อมใสดีแล้วต่อพระผู้มีพระภาค มีจิตใจสว่างบริสุทธิ์ เพื่อนำส่งขึ้นไปสู่สวรรค์และเชื่อมต่อสู่แดนอมตะพระนิพพาน 

ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย


ดอยแม่สลอง ภูเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกชาที่ดีที่สุดของประเทศและมีซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งมีดอกช่วงช่วงต้นเดือนมกราคม จนถึงปลายเดือนมีนาคม









ภาคกลาง


เที่ยวฟาร์มแกะ แวะไร่กุหลาบ อาบน้ำแร่ ที่สวนผึ้ง
 
               เปิดโลกทัศน์ สัมผัสธรรมชาติและวิถีชีวิตอันสงบ เรียบง่าย... สวนผึ้งอำเภอเล็กๆ ในอ้อมกอดแห่งขุนเขา ชายแดนตะวันตก เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐที่ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีท่องเที่ยวไทย และอิงกระแส เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคักวันหยุดยาวนี้ เราขอแนะนำที่เที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ได้แก่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี มาทำความรู้จักอำเภอนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

 อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง โอบล้อมด้วยขุนเขา ชิดชายแดนไทย-พม่า ประกอบด้วย 4 ตำบล คือ ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลตะนาวศรี และตำบลท่าเคย
การเดินทาง
ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงอ.สวนผึ้งประมาณ 160 กม. ใช้เวลาในการขับรถไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อนๆ สามารถเดินทางแบบชิลล์ๆ ไปได้ 2 เส้นทางด้วยกัน คือ

1. ทางหลวงหมายเลข 4 (เส้นถนนเพชรเกษม) ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี เมืองนครปฐม เมืองราชบุรี แล้วเลี้ยวขวาแถวเขางู ผ่าน อ.จอมบึง ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 3087 มุ่งหน้าสู่ อ.สวนผึ้ง

2. ทางหลวงหมายเลข 35 (เส้นถนนพระราม 2 - ธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เลี้ยวขวาเข้า อ.ปากท่อ ผ่านเมืองราชบุรี เขาแก่นจันทร์ แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3208 มุ่งหน้าสู่ อ.สวนผึ้ง


ทริปสวนผึ้ง ราชบุรีของเรา เริ่มต้นด้วยความประทับใจจากธรรมชาติอันสมบูรณ์ และภาพทิวทัศน์สวยงามขนาบข้างตลอดเส้นทาง เดิมทีเราตั้งใจจะมุ่งตรงสู่ตัวอำเภอสวนผึ้งกันเลย แต่ก็มาสะดุดตากับป้ายสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเก๋ๆ ว่า โป่งยุบ จึงไม่รอช้า ตัดสินใจแวะชมความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่สร้างสรรค์ให้ ทำให้ โป่งยุบ มีลักษณะเป็นโตรกผา รูปร่างแปลกตาคล้ายกับ แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ เป็นที่ตื่นตาตื่นใจในสายตาของนักท่องเที่ยวมากๆ เนื่องจากโป่งยุบอยู่ในที่ของเอกชน ดังนั้นต้องเสียค่าเข้าชม คันละ 40 บาท

เมื่อถ่ายรูปจนหนำใจแล้ว ก็ได้เวลาไปนอนแช่น้ำแร่ร้อนให้สบายกาย สบายใจที่ ธารบ่อคลึง ขับรถเลยตัวเมืองสวนผึ้งไปประมาณ 5 กม. จะเจอทางแยกเข้าไปบ่อคลึง วิ่งตรงไปอีก 10 กม. ก็ถึงแล้ว ที่นี่ถือเป็นสถานที่ไฮไลท์ของสวนผึ้งเลยก็ว่าได้ เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะไม่ต้องเดินทางไปอาบน้ำแร่ไกลถึงเชียงใหม่ หรือระนอง ก็สามารถมาผ่อนคลายแถมได้สุขภาพอีกด้วย บ่อคลึงเป็นธารน้ำร้อนธรรมชาติ ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรี มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ประกอบด้วยบ่อน้ำร้อนและสระสำหรับอาบน้ำร้อนธรรมชาติ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดตั้งแต่เวลา 08.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 08.00–18.00 น. ค่าผ่านประตู 5 บาท  ค่าอาบน้ำแร่บ่อกลางแจ้งคนละ 20 บาท สระกระเบื้องคนละ 50 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0 3271 1086
จากนั้น ไปชุ่มฉ่ำเย็นกายสบายตากันต่อที่ "น้ำตกเก้าชั้น หรือ น้ำตกเก้าโจน (เก้ากระโจน) เลยธารน้ำร้อนบ่อคลึงไปประมาณ 1 กม. เป็นน้ำตกที่มีความสูง 9 ชั้น ตกลงมาจากหน้าผาสูง มีน้ำตลอดปี โดยปริมาณน้ำจะมากในชั้นบนๆ การเดินเข้าชมน้ำตก จากลานจอดรถ ต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 500 ม. จะถึงบริเวณน้ำตกชั้นล่าง แต่มาเที่ยวสวนผึ้งทั้งที ก็ต้องเก็บเกี่ยวความสุขกันให้เต็มที่ ว่าแล้วก็เปิดประสบการณ์สุดท้าทาย เดินเท้าขึ้นไปพิชิตน้ำตกชั้นสุดท้ายกันดีกว่า ด้วยระยะทางประมาณ 2 กม. ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อนๆ ก็จะได้สัมผัสธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เปรียบดังโอเอซิสอันชุ่มชื่น ที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา ค่าเข้าชม รถยนต์ รถตู้ รถปิกอั๊พ คันละ 30 บาท รถบัส 100 บาท

ห่างจากที่ว่าการอำเภอสวนผึ้งไป 25 กม. จะพบแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่ง ได้แก่ สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม แก่งส้มแมว สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสมาเยือนสวนป่าสิริกิติ์แห่งนี้ คือ การพายเรือล่องแก่ง เล่นน้ำ ชมนกยูงรำแพน หรือพักผ่อนรับประทานอาหารริมลำธาร เป็นต้น
สวนผึ้ง เต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายไว้คอยรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถเติมเต็มวันว่างของเพื่อนๆ ได้อย่างสมบูรณ์และลงตัว อาทิ ชมไร่กุหลาบอุษาวดี, เที่ยวรีสอร์ทสวยสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน The Scenery Resort เป็นต้น ใครที่มีเวลาว่างอันจำกัด หรือต้องการเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ เราเชื่อว่า คุณจะตกหลุมรักอำเภอนี้เหมือนกับเราค่ะ วันหยุดยาวช่วงเข้าพรรษานี้ หากเพื่อนๆ ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวไหน ลองมาท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่สนุกสนานและน่าจดจำใน สวนผึ้ง ราชบุรี กันนะคะ

ประเพณีแข่งเรือ 

เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย



อาหารภาคกลาง


แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย


                 แกงเขียวหวานเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคกลางที่ปรุงแต่งด้วยกะทิที่เข้มข้นจริงๆ แกงเขียวหวานมีหลายชนิด เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานปลาดุก และ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แต่ถ้าเอ่ยชื่อแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากรายจะเป็นที่นิยมที่สุดเนื่องจากเนื้อของปลากรายจะเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากเนื้อของปลากรายจะมีลักษณะอ่อนนุ่มเหนียว กลิ่นคาวน้อย เหมาะสำหรับปรุงเป็นแกงเขียวหวานที่มีรสชาติอร่อยยิ่งนัก 


http://tip6220.blogspot.com/2011/01/blog-post.html





ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การละเล่น


 













ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
พิธีกรรม
มีการจัดทำพิธี  วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัดในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมืองสำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด  รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อยๆ พื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมันและในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
สาระ
การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็นมีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากากโดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น

อาหารของภาคอีสาน
                                                                                                                                                                                                             
อาหารไทยภาคอีสาน                                                                                                                                                                อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิ ตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัดรสชาติทางอีสานออก
ไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็น น้ำตกหรือทำลาบเขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลา
ร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้     ชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก และน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

ภูกระดึง

ภูมิอากาศเสน่ห์อย่างหนึ่งของภูกระดึงคืออากาศ ที่เย็นสบาย ตลอดปี เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง และ ใน ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นมาก บ่อยครั้งที่  อุณหภูมิ จะต่ำลงถึง 0 องศา C. อุณหภูมิโดยเฉลี่ย สูงสุด 26 องศา C. และต่ำสุด 5 องศา C. อากาศที่ หนาวเย็นเช่นนี้ คล้ายคลึง กับอากาศของบางประเทศ ในภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ บางท่านก็ขนานนามว่าเป็น ภูไทย บรรยากาศ สวิสฯ ทีเดียว


จำนวนน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1,824 มิลลิเมตรต่อปี ช่วงที่มีฝนตกอยู่ ระหว่างเดือน เม.ย.- ต.ค.
ความเร็วลม ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและตำแหน่งสถานที่ เช่นหน้าผาต่างๆ จะมีแรงปะทะลมสูงกว่า
บริเวณพื้นที่ตรงกลางภู
ทิศทางลม ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสถานที่
 ภูมิประเทศ 
สภาพโดยทั่วไป ของภูกระดึงเป็นภูเขา หินทราย มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ สลับกับเนินเตี๊ยๆ บนยอดตัด โดยมีจุดสูงสุดของยอดภูกระดึงอยู่ที่ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมณ 1,316 เมตร เป็นต้นกำเนิดลำน้ำพอง ซึ่งไหล ลงสู่เขื่อน อุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวายในจังหวัดขอนแก่น ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อ และ ทุ่งหญ้า มีพรรณไม้ ดอกไม้ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณ ทุ่งหญ้า น้ำตก และลานหิน
พรรณไม้ 
จุดเด่นของภูกระดึง คือความสวยงามของ ป่าสน ซึ่งประกอบไปด้วยสนสองใบ สนสามใบ สนพันปี ที่ขึ้นเรียงรายสวยงามอยู่บนยอดภูยอดตัด ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีหลายชนิด 
เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าสนเขา มีพรรณไม้ต่างๆ ได้แก่ เต็ง รัง พลวง แคว มะค่า 
ยมหอม สมอ มะเกลือ ตะแบก รกฟ้า พญาไม้สนสามพันปี จำปีป่า ทะโล้ เมเปิล ก่อชนิดต่างๆ ในบริเวณทุ่งหญ้า มีพรรณไม้ดอกที่สวยงาม ออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปในแต่ล่ะฤดูกาล เช่น กุหลาบป่า เทียนน้ำ มณเฑียรทอง แววมยุรา  กระดุมเงิน เทียนภู ดาวเรืองภู หยาดน้ำค้าง ยี่โถปีนัง ใบพาย เอนอ้า หงอนนาค ส้มแปะ เหง้าน้ำทิพย์ และกล้วยไม้ต่างๆ ซึ่งบางชนิด  ชอบขึ้น ตามลานหินเช่น ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน เอื้องคำแสด ส่วนไม้พื้นล่างมี เฟิร์น มอส โดยมีข้าวตอกฤาษี ซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุด เป็นจำนวนมาก
สัตว์ป่า ความหลากหลายของป่าใจนเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่มีทั้งป่าไม้ ทุ่งหญ้า และลำธาร เป็นแหล่ง อาหารที่ อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีสัตว์ป่า อาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้าง หมีควาย เลียงผา เก้ง กวาง หมูป่า ชะนี ค่าง บ่าง พญากระรอก หมาไม้ หมาไน ซึ่งมักจะได้ยินเสียงหอน แทบทุก ค่ำคืนส่วนนกชนิดต่างๆ ที่พบเห็นได้แก่ นกกางเขนดง และมีเต่าชนิดหนึ่ง ที่หาได้ยากคือ เต่าปูลู หรือ เต่าหาง เป็นเต่าที่มีหางยาว อยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และลาว


ลักษณะการแต่งตัว



ภาคใต้


อาหารคนใต้
อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย  น่าลิ้มลอง  แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน    คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด  เค็ม  เปรี้ยว
แต่ไม่นิยมรสหวาน  รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง
และพริกไทย  ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ   รสเปรี้ยว  ได้จากส้มแขก   น้ำส้มลูกโหนด
ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น
           เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่
ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจ
เรียกว่า ผักเกร็ด   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับ
ภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ  แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกัน
เฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้  ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กัน
หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้
 เมนูอาหาร
แกงไตปลา
แกงเหลืองมะละกอสับปะรดแกงขนุนอ่อน
ผัดสะตอกุ้งสดข้าวยำปักษ์ใต้
Credit: http://www.isaansmile.com/thai_food/page5-3.html


าดสวย น้ำใส ไปเที่ยว ... เกาะสมุย กันเถอะ

เกาะสมุย



เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยทัวร์ดอทคอม

          เมื่อนึกถึงทะเล หาดทราย สายลม และแสงแดด คุณจะนึกถึงที่ไหนเป็นอันดับแรก...ติ๊กตอก ๆๆ ฮั่นแน่ เชื่อว่าหนึ่งในคำตอบของใครหลายคน คงต้องมี "เกาะสมุย" สวรรค์กลางอ่าวไทยรวมอยู่ด้วยเป็นแน่ เพราะแม้ว่าที่แห่งนี้จะไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวแปลกใหม่ แต่ก็มีเสน่ห์เฉพาะตัว ชายหาดที่ทอดยาวขนานไปกับทะเล ต้นมะพร้าวเรียงรายริมชายหาด และน้ำทะเลใสสีสวย โห...ได้บรรยากาศสุดๆ  จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าสถานที่แห่งนี้ยังคงเรียกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อยู่หมัด!

          เกาะสมุย เป็นเกาะที่อยู่กลางอ่าวไทยโดยเป็นอำเภอๆ หนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสถานที่ตากอากาศที่มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงมากมาย โดยเกาะสมุยนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 247 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะเป็นที่ราบแล้วล้อมรอบด้วยภูเขา ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งคลื่นลมสงบ


ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน

ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลากพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีชักพระ" เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน และเป็นประเพณีที่มีกำหนดการแน่นอน คือ จัดทำในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตรงกับวันออกพรรษา
ที่มาของประเพณี เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้งทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น
การลากพระ เป็นการบำเพ็ญบุญประเพณีในเทศกาลคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวโน้มน้าวเร้าจิตใจให้คิดระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงกลับมาสู่มนุษย์โลก และ โปรดเวไนยสัตว์จนเสด็จดับขันปรินิพพาน ประเพณีลากพระจัดทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นปางประทับยืนปละทรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ประดิษฐานเหนือบุษบกคือมณฑปขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ที่จัดตั้งไว้ในยานพาหนะสำหรับลากจูงต่อไป ขบวนลากจูงเรือพระนี้ เป็นประเพณีที่ชาวภาคใต้เรียกว่า "พิธีลากพระ"

การลากพระแบ่งเป็น 2 ประเภท
เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้บางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทะเล แม่น้ำลำคลอง การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ สำหรับชุมชนที่อาศัยในที่ราบสูงใช้เกวียนหรือรถยนต์เป็นพาหนะ ดังนั้น บุญประเพณีลากพระจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะให้เหมาะกับพื้นที่ จึงจะประกอบพิธีลากพระได้ทั่วภูมิภาคและต่อละสถาน ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันต่างกันแต่รูปแบบ หรือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในพิธีดังนี้
1.การลากพระเรือ เป็นประเพณีลากพระทางน้ำของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่ม การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ
2.การลากพระบก เป็นประเพณ๊ลากพระทางบกของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูง การคมนาคมในชีวิตประจำวันใช้เกวียนหรือรถยนต์และรถไฟเป็นพาหนะ แต่ร้านม้าที่จัดตั้งบุษบกใช้คำว่า "เรือ" นำหน้าจึงเรียกว่า "เรือพระบก" สันนิษฐานว่า การลากพระคงเริ่มจากลากพระเรือก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นลากพระบก
กิจกรรมประจำประเพณี
แต่ละสถานที่อาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชุมชน กิจกรรมที่จัดทำทั่วไป ได้แก่
1.ประกวดเรือพระ หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตัดสินแพ้ชนะ พิจารณาถึงความสวยงาม ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีชาวภาคใต้ทั้งเรือพระบกและเรือพระน้ำ ได้ประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์อันวิจิตรการตา เช่น เรือพระบกคานรองร้านม้าและสลักเป็นพญานาค 2 ตัว ยกหัวชูหงอนสะบัดหาง เลื้อยเคียงคู่ประคองบุษบกไปตามเส้นทาง ยิ่งดูยิ่งเพิ่มศรัทธาเร้าใจ จนเข้าไปร่วมขบวนโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย
2.การแข่งตะโพน ซึ่งเป็นกลองชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบตัวตะโพนทำด้วยไม้ขึงด้วยหนังหัวท้าย มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ (ภาษาถิ่นบางแห่งเรียกว่า "ปืด") เข้าทำการแข่งขันครั้งละคู่ ตัดสินโดยการฟังเสียงเป็นสำคัญ วิธีแข่งขัน เรียงตะโพนตามกัน 2 ใบ ใบแรกจะตั้งเสียงตีก่อน ใบที่ 2 จะตัดเสียงทีหลัง คณะกรรมการจะดักฟังเสียงทางด้านหลังของตะโพนทั้ง 2 ใบ และต้องอยู่ห่างไกล จึงสามารถแยกเสียงตั้งและเสียงตัดได้ดี คู่แข่งขันจะสลับวางด้านหน้าและด้านหลังอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้ง
ตะโพนอีกประเภทหนึ่ง ตีด้วยไม้ ผู้ตีกลองต้องแข็งแรง วิธีแข่งขันจะตีแรงๆ รัวเร็วๆ และช่วงเวลาตียาวนาน ผลัดเปลี่ยนตีโชว์คนละครั้ง
3.แข่งเรือยาว กำหนดรุ่นตามจำนวนฝีพาย กติการและวิธีแข่งขัน ตัดสินการแพ้ชนะที่ความเร็วช้ากว่ากัน ดังแข่งขันเรือยาวทั่วไป
4.แข่งขันซัดขนมต้ม เป็นกีฬาที่รุนแรง ผู้แข่งขันต้องตาเร็ว มือเร็ว มีทักษะในการขว้างปาแม่นยำด้วย
อุปกรณ์ในการแข่งขัน คือ ขนมต้มสามเหลี่ยมและจัดทำเป็นขนมต้มชนิดแข่งขันเฉพาะ บางแห่งใช้ข้าวเหนียวผสมทรายห่อด้วยใบกะพ้อ ต้มหรือนึ่งจนแห้งให้ข้าวเหนียวแข็ง

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล จาก ครวญ คุณาดิศร