หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาคกลาง


เที่ยวฟาร์มแกะ แวะไร่กุหลาบ อาบน้ำแร่ ที่สวนผึ้ง
 
               เปิดโลกทัศน์ สัมผัสธรรมชาติและวิถีชีวิตอันสงบ เรียบง่าย... สวนผึ้งอำเภอเล็กๆ ในอ้อมกอดแห่งขุนเขา ชายแดนตะวันตก เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐที่ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีท่องเที่ยวไทย และอิงกระแส เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคักวันหยุดยาวนี้ เราขอแนะนำที่เที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ได้แก่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี มาทำความรู้จักอำเภอนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

 อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง โอบล้อมด้วยขุนเขา ชิดชายแดนไทย-พม่า ประกอบด้วย 4 ตำบล คือ ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลตะนาวศรี และตำบลท่าเคย
การเดินทาง
ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงอ.สวนผึ้งประมาณ 160 กม. ใช้เวลาในการขับรถไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อนๆ สามารถเดินทางแบบชิลล์ๆ ไปได้ 2 เส้นทางด้วยกัน คือ

1. ทางหลวงหมายเลข 4 (เส้นถนนเพชรเกษม) ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี เมืองนครปฐม เมืองราชบุรี แล้วเลี้ยวขวาแถวเขางู ผ่าน อ.จอมบึง ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 3087 มุ่งหน้าสู่ อ.สวนผึ้ง

2. ทางหลวงหมายเลข 35 (เส้นถนนพระราม 2 - ธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เลี้ยวขวาเข้า อ.ปากท่อ ผ่านเมืองราชบุรี เขาแก่นจันทร์ แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3208 มุ่งหน้าสู่ อ.สวนผึ้ง


ทริปสวนผึ้ง ราชบุรีของเรา เริ่มต้นด้วยความประทับใจจากธรรมชาติอันสมบูรณ์ และภาพทิวทัศน์สวยงามขนาบข้างตลอดเส้นทาง เดิมทีเราตั้งใจจะมุ่งตรงสู่ตัวอำเภอสวนผึ้งกันเลย แต่ก็มาสะดุดตากับป้ายสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเก๋ๆ ว่า โป่งยุบ จึงไม่รอช้า ตัดสินใจแวะชมความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่สร้างสรรค์ให้ ทำให้ โป่งยุบ มีลักษณะเป็นโตรกผา รูปร่างแปลกตาคล้ายกับ แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ เป็นที่ตื่นตาตื่นใจในสายตาของนักท่องเที่ยวมากๆ เนื่องจากโป่งยุบอยู่ในที่ของเอกชน ดังนั้นต้องเสียค่าเข้าชม คันละ 40 บาท

เมื่อถ่ายรูปจนหนำใจแล้ว ก็ได้เวลาไปนอนแช่น้ำแร่ร้อนให้สบายกาย สบายใจที่ ธารบ่อคลึง ขับรถเลยตัวเมืองสวนผึ้งไปประมาณ 5 กม. จะเจอทางแยกเข้าไปบ่อคลึง วิ่งตรงไปอีก 10 กม. ก็ถึงแล้ว ที่นี่ถือเป็นสถานที่ไฮไลท์ของสวนผึ้งเลยก็ว่าได้ เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะไม่ต้องเดินทางไปอาบน้ำแร่ไกลถึงเชียงใหม่ หรือระนอง ก็สามารถมาผ่อนคลายแถมได้สุขภาพอีกด้วย บ่อคลึงเป็นธารน้ำร้อนธรรมชาติ ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรี มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ประกอบด้วยบ่อน้ำร้อนและสระสำหรับอาบน้ำร้อนธรรมชาติ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดตั้งแต่เวลา 08.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 08.00–18.00 น. ค่าผ่านประตู 5 บาท  ค่าอาบน้ำแร่บ่อกลางแจ้งคนละ 20 บาท สระกระเบื้องคนละ 50 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0 3271 1086
จากนั้น ไปชุ่มฉ่ำเย็นกายสบายตากันต่อที่ "น้ำตกเก้าชั้น หรือ น้ำตกเก้าโจน (เก้ากระโจน) เลยธารน้ำร้อนบ่อคลึงไปประมาณ 1 กม. เป็นน้ำตกที่มีความสูง 9 ชั้น ตกลงมาจากหน้าผาสูง มีน้ำตลอดปี โดยปริมาณน้ำจะมากในชั้นบนๆ การเดินเข้าชมน้ำตก จากลานจอดรถ ต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 500 ม. จะถึงบริเวณน้ำตกชั้นล่าง แต่มาเที่ยวสวนผึ้งทั้งที ก็ต้องเก็บเกี่ยวความสุขกันให้เต็มที่ ว่าแล้วก็เปิดประสบการณ์สุดท้าทาย เดินเท้าขึ้นไปพิชิตน้ำตกชั้นสุดท้ายกันดีกว่า ด้วยระยะทางประมาณ 2 กม. ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อนๆ ก็จะได้สัมผัสธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เปรียบดังโอเอซิสอันชุ่มชื่น ที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา ค่าเข้าชม รถยนต์ รถตู้ รถปิกอั๊พ คันละ 30 บาท รถบัส 100 บาท

ห่างจากที่ว่าการอำเภอสวนผึ้งไป 25 กม. จะพบแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่ง ได้แก่ สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม แก่งส้มแมว สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสมาเยือนสวนป่าสิริกิติ์แห่งนี้ คือ การพายเรือล่องแก่ง เล่นน้ำ ชมนกยูงรำแพน หรือพักผ่อนรับประทานอาหารริมลำธาร เป็นต้น
สวนผึ้ง เต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายไว้คอยรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถเติมเต็มวันว่างของเพื่อนๆ ได้อย่างสมบูรณ์และลงตัว อาทิ ชมไร่กุหลาบอุษาวดี, เที่ยวรีสอร์ทสวยสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน The Scenery Resort เป็นต้น ใครที่มีเวลาว่างอันจำกัด หรือต้องการเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ เราเชื่อว่า คุณจะตกหลุมรักอำเภอนี้เหมือนกับเราค่ะ วันหยุดยาวช่วงเข้าพรรษานี้ หากเพื่อนๆ ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวไหน ลองมาท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่สนุกสนานและน่าจดจำใน สวนผึ้ง ราชบุรี กันนะคะ

ประเพณีแข่งเรือ 

เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย



อาหารภาคกลาง


แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย


                 แกงเขียวหวานเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคกลางที่ปรุงแต่งด้วยกะทิที่เข้มข้นจริงๆ แกงเขียวหวานมีหลายชนิด เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานปลาดุก และ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แต่ถ้าเอ่ยชื่อแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากรายจะเป็นที่นิยมที่สุดเนื่องจากเนื้อของปลากรายจะเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากเนื้อของปลากรายจะมีลักษณะอ่อนนุ่มเหนียว กลิ่นคาวน้อย เหมาะสำหรับปรุงเป็นแกงเขียวหวานที่มีรสชาติอร่อยยิ่งนัก 


http://tip6220.blogspot.com/2011/01/blog-post.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น