วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ผีตองเหลือง
ความเป็นมา
ผีตองเหลืองเป็นชนชาติข่าพวกหนึ่งที่เรียกตนเองว่า "มระบรี" (Mra bri) เป็นพวกเร่ร่อน กล่าวกันว่าชนพวกนี้ใช้ใบไม้สดมาทำ หลังคาเพิงเมื่อใบไม้เหล่านั้นเหลืองแล้วก็จะพากันย้ายแหล่งไปสู่ที่อื่นต่อไปจึึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผีตองเหลือง ผีตองเหลืองนับเป็นชาวป่าเผ่า สุดท้ายเผ่าเดียวที่ยังหลงเหลือในเขตภาคเหนือของไทยเพียง 2 จังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดน่านกับ จังหวัดแพร่ ที่จังหวัดน่านผีตองเหลืองอาศัยอยู่ ในป่า อำเภอเวียงสา และอำเภอบ้านหลวง รวมประมาณ 100 กว่าคนเท่านั้น
จากการศึกษาของศาสตราจารย์สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะพบว่าผีตองเหลืองเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรม ของชนเผ่าโหบินเบียนคือมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ 1,200 - 5,000 ปีล่วงมาแล้วโดยผีตองเหลืองเหล่านี้ได้อพยพมาจากเมืองไชยบุรี ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมา
วิถีชีวิต และภาษา
ผีตองเหลือง ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกคนป่ากลุ่มนี้มีที่มาจากพฤติกรรมของชนกลุ่มนี้ที่มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ โดยการเร่ร่อนเสาะหาแหล่ง อาหารด้วยการล่าสัตว์ และขุดหัวมันป่า
อาหารหลัก คือหัวมันป่า และสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น หอย ปู ปลา โดยใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นภาชนะในการหุงอาหารและทำให้สุกโดยใช้ ไฟเผา การก่อไฟยังใช้วิธีแบบโบราณ คือใช้เหล็กเสียดสีให้เกิดประกายไฟ อาหารโปรด คือเนื้อหมู โดยเฉพาะมันหมูชอบเป็นพิเศษ
เครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองที่เป็นชายยังใช้ผ้าเตี่ยวสวมใส่เพียงผืนเดียว บางรายอาจใช้เปลือกไม้สวมคลุมทับ ส่วนหญิงหลายราย ได้หันมานุ่งผ้าถุงและสวมเสื้อผ้าที่ผู้นำไปมอบให้ แต่อีกหลายรายยังคงใช้เปลือกไม้นุ่งห่ม
ความสามารถพิเศษของผีตองเหลืองอีกประการหนึ่ง คือ ปีนต้นไม้สูงๆ ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวมากทั้งนี้เพราะในชีวิตประจำวัน ต้องปีนต้นไม้เพื่อหารังผึ้งและสัตว์ป่าอยู่บนต้นไม้สูงประจำ จึงมีความเชี่ยวชาญในการปีนดังกล่าว
ชนเผ่าผีตองเหลืองถึงแม้เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่แต่ก็มีวิวัฒนาการด้านภาษาไม่มากนักมีเพียงภาษาพูดที่เป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน
การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน
จากอดีตที่เร่ร่อนของผีตองเหลืองนี้ จึงทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อทาสแรงงานของชาวเขาเผ่าม้งกลุ่มหนึ่งที่มีความฉลาดกว่าหลอกใช้ แรงงานโดยให้ค่าตอบแทนต่ำมาก เช่น ใช้ให้ปลูกข้าวโพดและเก็บเกี่ยวแบกขนเป็นเวลานานนับเป็นปีโดยได้ค่าตอบแทนเป็นลูกหมูเพียงตัวเดียว
ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผีตองเหลืองผู้ด้อยโอกาสให้พ้นจากการเป็นทาสแรงงาน อำเภอบ้านหลวงโดยนายพินิจ หาญพาณิชย์ นายอำเภอบ้านหลวง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้านได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและอนุรักษ์ชนเผ่าตองเหลืองขึ้นที่บริเวณบ้านพี้เหนือ เพื่อให้ ผีตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ได้มีที่อย่างถาวรไม่อพยพเคลื่อนย้ายไปยังที่อื่น รวมทั้งให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผีตองเหลือง เพื่อเป็นการ อนุรักษ์เผ่าพันธุ์ของผีตองเหลืองให้มีชีวิตยืนยาวสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ตลอดไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น