ราชพฤกษ์
เป็นไม้จำพวก Cassia มีชื่อเรียกว่า Cassia Donosa ลำต้น ตอนโคน มีข้อแหลม ๆ ดอก สีชมพูแก่ ออกดอก เมื่อผลิใบอ่อน ดอกไม่ดก ฝักเล็ก ขนาด ฝักคูน สีดำเกลี้ยง ไม่มีขนใบเล็ก บาง ไม่มีขนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ กระจายพันธุ์ไปในป่าเต็งรังมีมากทางเหนือและอีสาน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทางอีสานเรียกว่า"ต้นคูน" ราชพฤกษ์เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบสูง ๕-๑๕ เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลาตรงเปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาวหรือสีนวล เรียบ เกลี้ยงหรือแตกล่อนเป็นสะเก็ดโตๆ บ้าง เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดรูปไข่หรือรูปร่ม ค่อนข้างทึบ แตกกิ่งต่ำ แผ่กว้าง ให้ร่มเงาดี เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำเสา สากตำข้าว ล้อเกวียน คันไถ เครื่องกลึง ชาวเหนือและชาว อีสานนิยมใช้เปลือก เนื้อไม้ และผลมาทำสีย้อมให้สีเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหม (ข้อมูลจาก หนังสือต้นไม้ยาน่ารู้ ของ ธงชัย เปาอินทร์ ) |
|
|
|
| ชื่อวิทยาศาสตร์ | | Cassia fistula Linn |
| | | ชื่อสามัญ | | Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia |
|
|
|
|
|
| ชื่อท้องถิ่น | | ภาคเหนือ เรียก ลมแล้ง | | | | ภาคใต้ เรียก ราชพฤกษ์ | | | | ปัตตานี เรียก ลักเกลือ ลักเคย | | | | ภาคกลาง เรียก ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ | | | | กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก กุเพยะ | | | | กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก ปือยู , ปูโย , เปอโซ , แมะหล่า อยู่ | | | | อีสาน เรียก คูน
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น