หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พายุสุริยะ

พายุสุริยะ


สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือนาซ่า ได้ออกแถลงการณ์เตือนให้ชาวโลก เตรียมรับมือกับพายุสุริยะที่คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปีในสัปดาห์นี้ หลังจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์เกิดแรงระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา       โดยพายุดังกล่าวจะส่งคลื่นพายุแม่เหล็กไฟฟ้ามาสู่โลกด้วยความเร็ว 1,400 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลทำให้กระทบต่อระบบจีพีเอส สื่อสารการบิน ระบบวิทยุ ระบบดาวเทียม และระบบการสื่อสารอื่นๆ บนโลก    อีกทั้งยังจะส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์แสงเหนือขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ในบริเวณต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่มีให้เห็นได้ไม่บ่อยนักด้วย.                                                                                                                            พายุสุริยะ ส่งผลกระทบต่อโลกแค่ไหน?
    หลายคนฟังคำว่า พายุสุริยะ แล้วคงจะรู้สึกกลัวถึงอานุภาพของมัน แต่จริง ๆ แล้ว พายุสุริยะ ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ทำลายสิ่งปลูกสร้าง หรือทำให้มนุษย์บาดเจ็บล้มตายได้ แต่สิ่งที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้นก็คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กของโลก ซึ่งเป็นตัวคอยกั้นโลกจากรังสีของดวงอาทิตย์อยู่ เช่น ระบบการสื่อสารคมนาคมทางวิทยุ ระบบการบิน ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า ฯลฯ   ทั้งนี้หากสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ได้รับผลกระทบ แน่นอนว่า ย่อมมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วลก เช่น เครื่องบินต้องหยุดบินชั่วคราว ดาวเทียมใช้งานไม่ได้ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเกิดปัญหา หรืออาจทำให้หม้อแปลงที่โรงปั่นไฟฟ้าเสียหายได้ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบต่าง ๆ ที่จะได้รับผลกระทบจาก พายุสุริยะ ก็สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้า เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดได้ อย่างเช่น หากมีการบินในช่วงเกิดพายุสุริยะ นักบินก็ต้องหลีกเลี่ยงการบินผ่านบริเวณขั้วโลก แต่ให้บินอ้อมไปทางอื่น ที่จะปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสีมากกว่า
               ส่วนนักบินอวกาศ หากนักบินอวกาศออกไปจากสนามแม่เหล็กโลก แล้วเกิดพายุสุริยะขึ้นในช่วงนั้น นักบินอวกาศก็ยังเสี่ยงต่อการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย เช่นเดียวกับโลก ที่เมื่อรังสีต่าง ๆ สะสมอยู่ในโลกมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ร่างกายของมนุษย์ยังจะได้รับรังสีผ่านทางน้ำ อาหาร นำไปสู่โรคชนิดใหม่ขึ้นได้

พายุสุริยะ


 

แสงออรอร่าเกิดจากอนุภาคมากับ พายุสุริยะ 


 ขณะเดียวกัน เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้น จะมีการปล่อยมวลจากโคโรนาเข้าปะทะกับสนามแม่เหล็กของโลก และบีบสนามแม่เหล็กให้เข้ามาใกล้ เกิดเป็นอนุภาคที่เรียกว่า "แถบรังสี" เมื่อสนามแม่เหล็กบีบตัวเข้ามา อนุภาคเหล่านี้จะชนกับบรรยากาศของโลก เกิดเป็นแสงเหนือแสงใต้ หรือที่เรียกว่า "ออโรรา" (Aurora) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ในประเทศแคนาดา แต่หาก พายุสุริยะ แรงมาก แสงออโรราจะส่องลงมาให้เห็นถึงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เลย           พายุสุริยะ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1989 เป็นพายุสุริยะระดับธรรมดา เกิดขึ้นที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดของเมืองดับนานกว่า 9 ชั่วโมง และยังส่งผลกระทบไปถึงทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และสวีเดนด้วย ดังนั้น จึงมีการทำนายกันว่า พายุสุริยะครั้งใหญ่ที่จะพุ่งเข้าสู่โลก จะเกิดอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ.2011-2014 ซึ่งเป็นช่วงครบรอบ 11 ปีของวัฏจักรพอดี แต่ยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่นอน และความรุนแรงได้
                                                                                                                             จัดทำโดย 
                                                                                                    น.ส. ปริญดา  จาดเนือง ม.5/8  เลขที่ 20
                                                                                                                     วิชา โลกศึกษา
                                                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น