ช้าง
ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน
การอนุรักษ์ช้างไทย
เขียนโดย น.ส. ฐิตินันท์ สง่าทอง
การอนุรักษ์ช้างไทย
สำหรับงานอนุรักษ์ช้างไทยในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพฯ และในแต่ละภาคจะมีการจัดตั้งเป็นแห่งๆ ไป ในภาคเหนือคือ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ จ.สุรินทร์ และภาคใต้อยู่ที่ จ.นครศรีธรรมราช ส่วนศูนย์ประสานงานระดับจังหวัดจะตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีช้างมากกว่า 300 เชือก มีสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเป็นสำนักงานดูแลชั่วคราว ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้มีการตรวจสุขภาพของช้างเป็นประจำ โดยทำการเจาะเลือดแล้วไปตรวจดูสมรรถภาพการทำงานอขงร่างกาย ซึ่งคล้ายกับการตรวจเลือดในคน งานที่ทำส่วนหนึ่งซึ่งเป็นการวิจัยขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับค่าทางเคมีคลินิคในซีรัมช้างไทย ซึ่งได้แก่แร่ธาตุที่สำคัญกลูกโคส ยูเรีย และน้ำยาบ่อบางตัว เพื่อไว้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและเป็นข้อมูลพื้นฐานการวิจัยช้างไทยต่อไป ปัจจุบันจำนวนช้างได้ลดน้อยลงและส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้งอยู่ในป่าจนได้รับบาดเจ็บหลายเชือกซื่งอาจจะไม่โชคดีเหมือนกับพลายโมตาลาเสมอไป ดังนั้นหากไม่มีการอนุรักษ์แล้ว ช้างไทยอาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยได้ จึงควรมีการอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับไทยตลอดไป
โดย ผศ.อังคณา ผ่องแผ้ว
ลักษณะทั่วไปของช้าง
ธรรมชาติของช้าง ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นฝูง ช้าง ฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง ๕ - ๑๐ เชือก แต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของ ฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่ มี ความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า "ช้างโทน" ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ ๖.๐๐-๑๒.๐๐ น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป ๓ วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก ๑ - ๒ วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไป มันอาจ จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ธรรมชาติของช้าง ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นฝูง ช้าง ฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง ๕ - ๑๐ เชือก แต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของ ฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่ มี ความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า "ช้างโทน" ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ ๖.๐๐-๑๒.๐๐ น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป ๓ วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก ๑ - ๒ วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไป มันอาจ จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
นิสัยของช้าง ช้างเอเชียหรือช้างไทยโดยทั่วๆไป เมื่อนำมาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานได้แล้ว จะมีนิสัยฉลาด สุภาพ และรักเจ้าของ เว้นแต่ใน บางขณะ เช่น ในเวลาตกมันซึ่งก็เป็นเพียงในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในเวลาตกมันช้างจะมีนิสัยดุร้าย จะทำร้ายช้าง ด้วยกันเองหรือทำร้ายเจ้าของ ตลอดจนสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อพ้นระยะตกมันแล้ว นิสัยดุร้ายจะหายไปเอง ช้างบางเชือกอ าจจะมีนิสัย เกเรมาตั้งแต่กำเนิด แต่ก็ไม่มากนัก โดยปกติช้างเป็นสัตว์ที่ตื่นกลัวสิ่งของหรือสัตว์ที่มันไม่ค่อยพบเห็น โดยเฉพาะ ช้างเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกทางกลิ่นได้ดีมาก และมักจำกลิ่นที่มันเคยชินได้ดี ในด้านความฉลาดของช้างเอเชียหรือช้างไทยนั้น จะเห็น ได้จากการที่มันแสดงละครสัตว์หรือในด้านการไม้ มันได้แสดงความเฉลียวฉลาดของมันออกมา ในด้านการรักลูก มันรู้จักส่ง เสียงดุลูกหรือใช้งวงตีเมื่อลูกของมันซน นอกจากนั้น ยังมีผู้เคยพบว่า มันยืนเฝ้าศพลูกของมันที่ฝังดินไว้เป็นเวลา ๒-๓ วันก็มี
เขียนโดย น.ส. ฐิตินันท์ สง่าทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น