หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การละเล่น


 













ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
พิธีกรรม
มีการจัดทำพิธี  วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัดในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมืองสำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด  รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อยๆ พื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมันและในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
สาระ
การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็นมีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากากโดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น

อาหารของภาคอีสาน
                                                                                                                                                                                                             
อาหารไทยภาคอีสาน                                                                                                                                                                อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิ ตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัดรสชาติทางอีสานออก
ไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็น น้ำตกหรือทำลาบเขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลา
ร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้     ชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก และน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

ภูกระดึง

ภูมิอากาศเสน่ห์อย่างหนึ่งของภูกระดึงคืออากาศ ที่เย็นสบาย ตลอดปี เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง และ ใน ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นมาก บ่อยครั้งที่  อุณหภูมิ จะต่ำลงถึง 0 องศา C. อุณหภูมิโดยเฉลี่ย สูงสุด 26 องศา C. และต่ำสุด 5 องศา C. อากาศที่ หนาวเย็นเช่นนี้ คล้ายคลึง กับอากาศของบางประเทศ ในภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ บางท่านก็ขนานนามว่าเป็น ภูไทย บรรยากาศ สวิสฯ ทีเดียว


จำนวนน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1,824 มิลลิเมตรต่อปี ช่วงที่มีฝนตกอยู่ ระหว่างเดือน เม.ย.- ต.ค.
ความเร็วลม ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและตำแหน่งสถานที่ เช่นหน้าผาต่างๆ จะมีแรงปะทะลมสูงกว่า
บริเวณพื้นที่ตรงกลางภู
ทิศทางลม ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสถานที่
 ภูมิประเทศ 
สภาพโดยทั่วไป ของภูกระดึงเป็นภูเขา หินทราย มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ สลับกับเนินเตี๊ยๆ บนยอดตัด โดยมีจุดสูงสุดของยอดภูกระดึงอยู่ที่ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมณ 1,316 เมตร เป็นต้นกำเนิดลำน้ำพอง ซึ่งไหล ลงสู่เขื่อน อุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวายในจังหวัดขอนแก่น ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อ และ ทุ่งหญ้า มีพรรณไม้ ดอกไม้ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณ ทุ่งหญ้า น้ำตก และลานหิน
พรรณไม้ 
จุดเด่นของภูกระดึง คือความสวยงามของ ป่าสน ซึ่งประกอบไปด้วยสนสองใบ สนสามใบ สนพันปี ที่ขึ้นเรียงรายสวยงามอยู่บนยอดภูยอดตัด ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีหลายชนิด 
เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าสนเขา มีพรรณไม้ต่างๆ ได้แก่ เต็ง รัง พลวง แคว มะค่า 
ยมหอม สมอ มะเกลือ ตะแบก รกฟ้า พญาไม้สนสามพันปี จำปีป่า ทะโล้ เมเปิล ก่อชนิดต่างๆ ในบริเวณทุ่งหญ้า มีพรรณไม้ดอกที่สวยงาม ออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปในแต่ล่ะฤดูกาล เช่น กุหลาบป่า เทียนน้ำ มณเฑียรทอง แววมยุรา  กระดุมเงิน เทียนภู ดาวเรืองภู หยาดน้ำค้าง ยี่โถปีนัง ใบพาย เอนอ้า หงอนนาค ส้มแปะ เหง้าน้ำทิพย์ และกล้วยไม้ต่างๆ ซึ่งบางชนิด  ชอบขึ้น ตามลานหินเช่น ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน เอื้องคำแสด ส่วนไม้พื้นล่างมี เฟิร์น มอส โดยมีข้าวตอกฤาษี ซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุด เป็นจำนวนมาก
สัตว์ป่า ความหลากหลายของป่าใจนเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่มีทั้งป่าไม้ ทุ่งหญ้า และลำธาร เป็นแหล่ง อาหารที่ อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีสัตว์ป่า อาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้าง หมีควาย เลียงผา เก้ง กวาง หมูป่า ชะนี ค่าง บ่าง พญากระรอก หมาไม้ หมาไน ซึ่งมักจะได้ยินเสียงหอน แทบทุก ค่ำคืนส่วนนกชนิดต่างๆ ที่พบเห็นได้แก่ นกกางเขนดง และมีเต่าชนิดหนึ่ง ที่หาได้ยากคือ เต่าปูลู หรือ เต่าหาง เป็นเต่าที่มีหางยาว อยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และลาว


ลักษณะการแต่งตัว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น