หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาคใต้


อาหารคนใต้
อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย  น่าลิ้มลอง  แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน    คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด  เค็ม  เปรี้ยว
แต่ไม่นิยมรสหวาน  รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง
และพริกไทย  ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ   รสเปรี้ยว  ได้จากส้มแขก   น้ำส้มลูกโหนด
ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น
           เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่
ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจ
เรียกว่า ผักเกร็ด   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับ
ภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ  แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกัน
เฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้  ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กัน
หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้
 เมนูอาหาร
แกงไตปลา
แกงเหลืองมะละกอสับปะรดแกงขนุนอ่อน
ผัดสะตอกุ้งสดข้าวยำปักษ์ใต้
Credit: http://www.isaansmile.com/thai_food/page5-3.html


าดสวย น้ำใส ไปเที่ยว ... เกาะสมุย กันเถอะ

เกาะสมุย



เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยทัวร์ดอทคอม

          เมื่อนึกถึงทะเล หาดทราย สายลม และแสงแดด คุณจะนึกถึงที่ไหนเป็นอันดับแรก...ติ๊กตอก ๆๆ ฮั่นแน่ เชื่อว่าหนึ่งในคำตอบของใครหลายคน คงต้องมี "เกาะสมุย" สวรรค์กลางอ่าวไทยรวมอยู่ด้วยเป็นแน่ เพราะแม้ว่าที่แห่งนี้จะไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวแปลกใหม่ แต่ก็มีเสน่ห์เฉพาะตัว ชายหาดที่ทอดยาวขนานไปกับทะเล ต้นมะพร้าวเรียงรายริมชายหาด และน้ำทะเลใสสีสวย โห...ได้บรรยากาศสุดๆ  จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าสถานที่แห่งนี้ยังคงเรียกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อยู่หมัด!

          เกาะสมุย เป็นเกาะที่อยู่กลางอ่าวไทยโดยเป็นอำเภอๆ หนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสถานที่ตากอากาศที่มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงมากมาย โดยเกาะสมุยนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 247 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะเป็นที่ราบแล้วล้อมรอบด้วยภูเขา ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งคลื่นลมสงบ


ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน

ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลากพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีชักพระ" เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน และเป็นประเพณีที่มีกำหนดการแน่นอน คือ จัดทำในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตรงกับวันออกพรรษา
ที่มาของประเพณี เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้งทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น
การลากพระ เป็นการบำเพ็ญบุญประเพณีในเทศกาลคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวโน้มน้าวเร้าจิตใจให้คิดระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงกลับมาสู่มนุษย์โลก และ โปรดเวไนยสัตว์จนเสด็จดับขันปรินิพพาน ประเพณีลากพระจัดทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นปางประทับยืนปละทรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ประดิษฐานเหนือบุษบกคือมณฑปขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ที่จัดตั้งไว้ในยานพาหนะสำหรับลากจูงต่อไป ขบวนลากจูงเรือพระนี้ เป็นประเพณีที่ชาวภาคใต้เรียกว่า "พิธีลากพระ"

การลากพระแบ่งเป็น 2 ประเภท
เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้บางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทะเล แม่น้ำลำคลอง การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ สำหรับชุมชนที่อาศัยในที่ราบสูงใช้เกวียนหรือรถยนต์เป็นพาหนะ ดังนั้น บุญประเพณีลากพระจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะให้เหมาะกับพื้นที่ จึงจะประกอบพิธีลากพระได้ทั่วภูมิภาคและต่อละสถาน ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันต่างกันแต่รูปแบบ หรือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในพิธีดังนี้
1.การลากพระเรือ เป็นประเพณีลากพระทางน้ำของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่ม การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ
2.การลากพระบก เป็นประเพณ๊ลากพระทางบกของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูง การคมนาคมในชีวิตประจำวันใช้เกวียนหรือรถยนต์และรถไฟเป็นพาหนะ แต่ร้านม้าที่จัดตั้งบุษบกใช้คำว่า "เรือ" นำหน้าจึงเรียกว่า "เรือพระบก" สันนิษฐานว่า การลากพระคงเริ่มจากลากพระเรือก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นลากพระบก
กิจกรรมประจำประเพณี
แต่ละสถานที่อาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชุมชน กิจกรรมที่จัดทำทั่วไป ได้แก่
1.ประกวดเรือพระ หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตัดสินแพ้ชนะ พิจารณาถึงความสวยงาม ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีชาวภาคใต้ทั้งเรือพระบกและเรือพระน้ำ ได้ประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์อันวิจิตรการตา เช่น เรือพระบกคานรองร้านม้าและสลักเป็นพญานาค 2 ตัว ยกหัวชูหงอนสะบัดหาง เลื้อยเคียงคู่ประคองบุษบกไปตามเส้นทาง ยิ่งดูยิ่งเพิ่มศรัทธาเร้าใจ จนเข้าไปร่วมขบวนโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย
2.การแข่งตะโพน ซึ่งเป็นกลองชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบตัวตะโพนทำด้วยไม้ขึงด้วยหนังหัวท้าย มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ (ภาษาถิ่นบางแห่งเรียกว่า "ปืด") เข้าทำการแข่งขันครั้งละคู่ ตัดสินโดยการฟังเสียงเป็นสำคัญ วิธีแข่งขัน เรียงตะโพนตามกัน 2 ใบ ใบแรกจะตั้งเสียงตีก่อน ใบที่ 2 จะตัดเสียงทีหลัง คณะกรรมการจะดักฟังเสียงทางด้านหลังของตะโพนทั้ง 2 ใบ และต้องอยู่ห่างไกล จึงสามารถแยกเสียงตั้งและเสียงตัดได้ดี คู่แข่งขันจะสลับวางด้านหน้าและด้านหลังอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้ง
ตะโพนอีกประเภทหนึ่ง ตีด้วยไม้ ผู้ตีกลองต้องแข็งแรง วิธีแข่งขันจะตีแรงๆ รัวเร็วๆ และช่วงเวลาตียาวนาน ผลัดเปลี่ยนตีโชว์คนละครั้ง
3.แข่งเรือยาว กำหนดรุ่นตามจำนวนฝีพาย กติการและวิธีแข่งขัน ตัดสินการแพ้ชนะที่ความเร็วช้ากว่ากัน ดังแข่งขันเรือยาวทั่วไป
4.แข่งขันซัดขนมต้ม เป็นกีฬาที่รุนแรง ผู้แข่งขันต้องตาเร็ว มือเร็ว มีทักษะในการขว้างปาแม่นยำด้วย
อุปกรณ์ในการแข่งขัน คือ ขนมต้มสามเหลี่ยมและจัดทำเป็นขนมต้มชนิดแข่งขันเฉพาะ บางแห่งใช้ข้าวเหนียวผสมทรายห่อด้วยใบกะพ้อ ต้มหรือนึ่งจนแห้งให้ข้าวเหนียวแข็ง

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล จาก ครวญ คุณาดิศร


1 ความคิดเห็น:

  1. รู้สึกว่าความกว้างของบล็อกมีปัญหาอยู่ สามารถเพิ่มความกว้างได้ถึง 800-1000 px. ลองแก้ไขดูนะคะ

    ตอบลบ