หน้าเว็บ

Hi My friend

Thailand

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผีตองเหลือง


ความเป็นมา

ผีตองเหลืองเป็นชนชาติข่าพวกหนึ่งที่เรียกตนเองว่า "มระบรี" (Mra bri) เป็นพวกเร่ร่อน กล่าวกันว่าชนพวกนี้ใช้ใบไม้สดมาทำ หลังคาเพิงเมื่อใบไม้เหล่านั้นเหลืองแล้วก็จะพากันย้ายแหล่งไปสู่ที่อื่นต่อไปจึึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผีตองเหลือง ผีตองเหลืองนับเป็นชาวป่าเผ่า สุดท้ายเผ่าเดียวที่ยังหลงเหลือในเขตภาคเหนือของไทยเพียง 2 จังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดน่านกับ จังหวัดแพร่ ที่จังหวัดน่านผีตองเหลืองอาศัยอยู่ ในป่า อำเภอเวียงสา และอำเภอบ้านหลวง รวมประมาณ 100 กว่าคนเท่านั้น
จากการศึกษาของศาสตราจารย์สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะพบว่าผีตองเหลืองเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรม ของชนเผ่าโหบินเบียนคือมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ 1,200 - 5,000 ปีล่วงมาแล้วโดยผีตองเหลืองเหล่านี้ได้อพยพมาจากเมืองไชยบุรี ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมา
วิถีชีวิต และภาษา

ผีตองเหลือง ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกคนป่ากลุ่มนี้มีที่มาจากพฤติกรรมของชนกลุ่มนี้ที่มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ โดยการเร่ร่อนเสาะหาแหล่ง อาหารด้วยการล่าสัตว์ และขุดหัวมันป่า
อาหารหลัก คือหัวมันป่า และสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น หอย ปู ปลา โดยใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นภาชนะในการหุงอาหารและทำให้สุกโดยใช้ ไฟเผา การก่อไฟยังใช้วิธีแบบโบราณ คือใช้เหล็กเสียดสีให้เกิดประกายไฟ อาหารโปรด คือเนื้อหมู โดยเฉพาะมันหมูชอบเป็นพิเศษ
เครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองที่เป็นชายยังใช้ผ้าเตี่ยวสวมใส่เพียงผืนเดียว บางรายอาจใช้เปลือกไม้สวมคลุมทับ ส่วนหญิงหลายราย ได้หันมานุ่งผ้าถุงและสวมเสื้อผ้าที่ผู้นำไปมอบให้ แต่อีกหลายรายยังคงใช้เปลือกไม้นุ่งห่ม
ความสามารถพิเศษของผีตองเหลืองอีกประการหนึ่ง คือ ปีนต้นไม้สูงๆ ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวมากทั้งนี้เพราะในชีวิตประจำวัน ต้องปีนต้นไม้เพื่อหารังผึ้งและสัตว์ป่าอยู่บนต้นไม้สูงประจำ จึงมีความเชี่ยวชาญในการปีนดังกล่าว
ชนเผ่าผีตองเหลืองถึงแม้เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่แต่ก็มีวิวัฒนาการด้านภาษาไม่มากนักมีเพียงภาษาพูดที่เป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน
การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน

จากอดีตที่เร่ร่อนของผีตองเหลืองนี้ จึงทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อทาสแรงงานของชาวเขาเผ่าม้งกลุ่มหนึ่งที่มีความฉลาดกว่าหลอกใช้ แรงงานโดยให้ค่าตอบแทนต่ำมาก เช่น ใช้ให้ปลูกข้าวโพดและเก็บเกี่ยวแบกขนเป็นเวลานานนับเป็นปีโดยได้ค่าตอบแทนเป็นลูกหมูเพียงตัวเดียว
ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผีตองเหลืองผู้ด้อยโอกาสให้พ้นจากการเป็นทาสแรงงาน อำเภอบ้านหลวงโดยนายพินิจ หาญพาณิชย์ นายอำเภอบ้านหลวง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้านได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและอนุรักษ์ชนเผ่าตองเหลืองขึ้นที่บริเวณบ้านพี้เหนือ เพื่อให้ ผีตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ได้มีที่อย่างถาวรไม่อพยพเคลื่อนย้ายไปยังที่อื่น รวมทั้งให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผีตองเหลือง เพื่อเป็นการ อนุรักษ์เผ่าพันธุ์ของผีตองเหลืองให้มีชีวิตยืนยาวสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ตลอดไป

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาวกระเหรี่ยง

                      กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
                     อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

กะเหรี่ยงในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ
โดย นางสาว ปริญดา จาดเนือง ม.5/8 เลขที่ 20

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87
  • สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
  • โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หมายเหตุ....1. ปง่า-เก่อ-หญอ (หญอ เสียงนาสิก ไม่ใช่ ญอ) ต้องออกเสียงแบบนี้ถึงจะถูกต้องตามสัทอักษร แปลว่า คน ส่วนคำว่า กระเหรี่ยง ที่ชาวไทยนิยมเรียกชาติพันธุ์นี้นั้น เป็นคำที่ ปง่า-เก่อ-หญอ ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร และไม่มีในภาษากระเหรี่ยง และไม่ทราบชาวไทยนำคำนี้มาจากไหน จึงเป็นเหตุ ทำให้ไม่ชอบให้ผู้อื่นเรียกชาติพันธ์นี้ว่า กระเหรี่ยง ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดูถูกอะไร ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ที่ยอมและบางครั้งก็เรียกตนเองว่า กระเหรี่ยง ก็เนื่องจาก น้อยคนที่จะรู้จักและเรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-เก่อ-หญอ จึงใช้คำนี้ในลักษณะภาวะจำยอม แต่ไม่เคยเรียกชาติพันธุ์ตนเองว่า กระเหรี่ยง ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเช่น ดังนั้นถ้าจะกำหนดให้เรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-ก่า-หญอ จะเป็นการให้เกียรติกับชาติพันธุ์นี้มากกว่า 2. คำว่า ตอ-สู


บ้านชาวกระเหรี่ยง
ระบบครอบครัว ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน
สังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยา
ถ้ามีลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่
เด็กๆชาวกระเหรี่ยง
ความเชื่อ
เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ
ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา
ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยฉันมีโอกาสไปพบปะคนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง
หมายเหตุ...นับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่กับชาติพันธ์นี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากชีวิตของ ปง่า-เก่อ-หญอ อยู่กับป่าเขา ผูกพันกับธรรมชาติมาเนิ่นนาน จึงหล่อหล่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้ท่านได้มาอุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำกสิกรรมได้ผลผลิตดี ขอให้ท่านดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่านเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ และให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว เป็นความเชื่อที่ชาติพันธ์นี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ความเชื่อในลักษณะนี้มีอยู่ในทุกชนชาติ
 การเลี้ยงชีพ
ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์
เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลายๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก
กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน
กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น
กระเหรียงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ม้ง หรือ แม้ว

ม้ง หรือ แม้ว
ม้งมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือของประเทศกระจายออกไปถึง 13 จังหวัด ถิ่นที่พบมากคือจังหวัดเชียงราย ตาก น่าน เชียงใหม่ และเพชรบูรณ์ม้งในประเทศไทยแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มคือม้งจั๊ว ถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่าแม้วน้ำเงินหรือแม้วลาย  อีกกลุ่มหนึ่งคือม้งเด๊อหรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าแม้วขาว
การแต่งกาย
ม้งเป็นนักปักที่ลือชื่อภาพชาวม้งที่เราคุ้นตามักจะเป็นม้งลายที่ผู้หญิงจะนุ่งกระโปรงจีบอัดกลีบรอบตัว ยาวแค่เข่าผ้าใยกัญชงหรือฝ้ายทอมือ เขียนลวดลายบาติกอันเป็นเอกลักษณ์ของม้ง ส่วนเสื้อจะเป็นผ้าสีดำแขนยาว สวยพิสดารด้วยฝีเข็มปักและลายปะละเอียดยิบ และมีรัดน่อง นอกจากนี้ เวลาแต่งตัวครบเครื่องจริงๆ ยังมีผ้ากันเปื้อนปักประดับกันวิจิตรงดงามคาดทับกระโปรงอีกที
ส่วนผู้ชายม้งจะสวมกางเกงขายาวสีดำหลวมๆ เป็นหย่อนลงมาเกือบถึงปลายขา สวมเสื้อแขนยาวผ่าอก สีดำเสื้อตัวสั้นลอยอยู่เหนือเอวมีการปักประดับลวดลายที่สาบ ชาวม้งนิยมใช้เครื่องประดับเงิน ทั้งชายและหญิงจะมีกำไลเงินประดับรอบคอกัน


                 
ลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมของ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้ง

  • ในประวัติศาสตร์อดีตของชาวม้ง มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในลักษณะที่ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติขาดความช่วยเหลือจากโลกภายนอก และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดต่อๆมาเป็นของตนเอง จึงดูเหมือนว่าชาวม้งมักจะไม่มีความไว้วางใจต่อคนแปลกหน้ามากนัก ดังนั้นการที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ที่ต้องการกระทำด้วยความจริงใจและค่อยเป็นค่อยไป แต่ในปัจจุบันชาวม้งหรือแม้วมีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น  โดยเฉพาะกับคนพื้นราบ  เรามักจะพบกับชาวม้งลงจากดอยเข้ามาหาซื้อข้าวของเครื่องใช้  หรือติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับคนเมืองมากขึ้น
    • ชาวม้งหรือแม้ว  มีลักษณะนิสัยมีความขยันขันแข็งมีความอุตสาหะเป็นพิเศษ  ชีวิตประจำวันปกติ  พวกเขาแทบจะไม่มีเวลาว่างจากการทำงานเลยทั้งหญิงและชาย  นอกจากงานในไร่แล้ว  ผู้ชายยังต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมบ้านเรือน  วัสดุ  เครื่องมือ  เครื่องใช้  ในครัวเรือน  ตลอดจนการติอต่อค้าขาย  ทำธุรกิจกับคนภายนอก  เมื่อว่างจาการงานก็จะออกไปล่าสัตว์นำมาเป็นอาหารบ้าง
    • สำหรับผู้หญิงแม้ว  นอกจากงานในไร่ยังจะต้องรับผิดชอบในเรื่องจดหาอาหาร  เลี้ยงสัตว์  ทำความสะอาดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  ยามว่างก็จะเย็บปักถักร้อย  ประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ  ลงบนลายผ้าเอาไว้ใช้ตัดเย็บใส่เสื้อผ้าเป็นต้น
    • ชาวม้งมีนิสัยรักความเป็นอิสระ  ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดประวัติศาสตร์ของม้งหรือแม้ว  จะเห็นได้ว่าพยายามหลีกเลี่ยงการถูกกดขี่และครอบงำจากจีนมาตลอดมาจนบางครั้งทำให้เกิดการต่อสู้และเป็นผลทำให้มีการอพยพลงมาทางใต้ของชาวม้ง  เช่นในปัจจุบัน
    • ม้งหรือแม้วปกติเป็นคนฉลาดกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆที่มีอยู่ในประเทศไทย  โดยเฉพาะการคิดคำนวณ  ทั้งนี้เนื่องจากอาจจะเป็นเพราะว่าชาวม้งมีนิสัยด้านการค้าขาย  ลักษณะโดยทั่วไปแม้ไม่ค่อยจะวางใจในตนแปลกหน้า  แต่เมื่อได้สังเกตดูจนเป็นที่พอใจแล้ว  พวกเขาก็จะมีท่าทีที่ค่อนข้างจะเปิดเผยจริงใจ และซื่อสัตย์มากขึ้น  โดยเฉพาะในเรื่องของการทำธุรกิจทางการค้าขาย
    • จากอดีตที่ผ่านมาพบว่าพวกเขามักจะแสดงออกถึงการถ่อมตัวและหลีกเลี่ยงการปะทะและการขัดแย้ง  แต่หากไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้  หรือรู้สึกว่าถูกละเมิดเอาเปรียบพวกเขาก็จะแสดงอาการที่ก้าวร้าวและตอบโต้ในทางที่รุนแรง
    • ลักษณะนิสัยของชาวม้งหรือแม้วอีกประการหนึ่ง  พวกเขาก็จะมีความละเอียดอ่อน  ในเรื่องของการรักษาหน้ารักษาชื่อเสียง  หนุ่มสาวบางรายอาจจะตัดสินใจกินฝิ่นจนตาย  หากรู้สึกว่าตนเองต้องเสียหน้า  ทำให้อับอายอย่างมากหรืออกหักสูญเสียคนรักไป  หรือถูกด่าว่ารุนแรงจากพ่อแม่ พี่น้อง  เป็นต้น
    • แต่ลักษณะหรือค่านิยมเหล่านี้ก็มิได้ยึดถือและครอบคลุมไปทุกคนเพราะปัจจุบันชาวม้งเริ่มมีการปรับเปลี่ยนค่านิยม  ที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยม  ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมและวัฒนธรรมภายนอกมากขึ้น
    • โดยปกติตามจารีตประเพณี  สังคมของแม้ว มีการสืบสกุลทางฝ่ายชายบุตรชายจะเป็นผู้สืบทอดหน้าที่ทางพิธีกรรมต่างๆ ต่อจากบิดา การแต่งงานจะรับรู้ในลักษณะความหมายในการซื้อเมีย  เพราะฝ่ายชายจะต้องจ่ายค่าสินสอด  ซื้อตัวเจ้าสาว  ออกมาจากครอบครัวมาเป็นสมาชิกแรงงานใหม่ในครอบครัวของฝ่ายชาย  และไม่ว่าจะในกิจกรรมใดๆก็ตามส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นผู้ชี้ขาดตัดสินเป็นเสียงสุดท้าย
    • เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ผู้ชายแม้วจะพิจารณาเลือกสาวมาเป็นคู่ครองคือ  ต้องมีความขยันขันแข็งและแข็งแรง  ส่วนความสวยนั้นมาเป็นอันดับรอง  ในทำนองเดียวกันหากหนุ่มแม้วคนไหนขี้เกียจ  ติดฝิ่น  ก็ย่อมยากที่จะหาสาวมาเป็นภรรยาได้  เพราะลักษณะนิสัยของแม้ว  จะต้องเป็นบุคคลที่ขยันต่องานอย่างจริงจัง และเนื่องจากสังคมของแม้วยังนิยมใช้แรงงานคนเป็นสำคัญ  ครอบครัวหนึ่งๆก็ควรจะมีแรงงานมากพอสมควร ดังนั้นแม้วจึงนิยมมีบุตรหลายคน ครอบครัวไหนมีลูกหลานมาก  ก็หมายถึงมีแรงงานมากมาก  การเพาะปลูกและผลผลิตก็ย่อมจะได้มากตามไปด้วย  ซึ่งจะทำให้สถานะทางเศรษฐกิจภายในครอบครัวมีความเจริญยิ่งขึ้น
    • ลักษณะของชาวม้งหรือแม้ว  จะมีรูปพรรณท่าทางการพูดจาคล้ายคนจีนแต่ลักษณะโดยทั่วไปม้งจะมีผิวคล้ำกว่าจีนเล็กน้อยสำหรับผู้ชายจะมีรูปร่างสูงกว่าหญิงเล็กน้อย  ผู้หญิงม้งหรือแม้วรูปร่างมักจะได้สัดส่วน  บางคนมีรูปร่างหน้าตาค่อนข้างจะสวยคล้ายคนจีน  ลักษณะโดยทั่วไป พวกม้งจะมีความอยากรู้อยากเห็น แต่ค่อนข้างจะขี้อายพยายามหลบหน้าเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาในหมู่บ้าน  จนกว่าจะแน่ใจเสียก่อน
    • พวกม้งหรือแม้วไม่มีภาษาที่แน่นอน  ส่วนใหญ่มักจะยืมภาษาจีน  ภาษายูนนาน  ภาษาลาว  และภาษาไทยภาคเหนือมาใช้  นอกจากนี้ม้งยังไม่มีตัวหนังสือเป็นของตนเองอีกด้วย  เล่ากันว่า  เดิมม้งมีหนังสือใช้เหมือนกัน  แต่ต้องอพยพหลบภัยอยู่เสมอ  จึงขนหนังสือใส่หลังม้า  เดินทางมาถึงลำธารแห่งหนึ่งก็ปลดม้าวางตะกร้าหนังสือเอาไว้  และพากันนอนหลับไป  จนม้ากินหนังสือหมด  ชาวม้งจึงไม่มีหนังสือใช้จนทุกวันนี้
    • ชาวม้งมีเครื่องหมายกรีดบนท่อนไม้เล็กๆ  ใช้แทนตัวหนังสือ  เช่น  แสดงความรักความคิดถึงก็เอามีดมาแกะท่อนไม้เป็นรอยตรงๆ 4 รอย ก็แสดงถึงความรักอย่างท่วมท้นแล้ว ถ้าเป็นรอยเฉียงๆ ก็แสดงว่าความรักนั้นได้ขาดลงไปแล้ว  เป็นต้น  หรือถ้าแกะเป็นรอยตรงๆ 2 รอย  ห่างกันทางหัวไม้ท้ายไม้  ปักขนไก่กับพริกขี้หนูติดไปด้วย  ฝากไปให้ญาติห่างไกล  นั่นแสดงว่ามีเรื่องด่วนหรือธุระต้องการที่จะพบหากันด่วนเป็นต้น
    • ปัจจุบันในเรื่องการศึกษา  ชาวเขาเผ่าม้งหรือแม้วมักจะให้ความสนใจในการศึกษามากกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่มีในประเทศไทย  จึงทำให้ม้งหรือแม้วมีความเฉลียวฉลาดและทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันมากขึ้น

    น.ส.จิรัฐติกาล   ชมเย็น  เลขที่  7

    เมี่ยนหรือเย้า

    เมี่ยนหรือเย้า
           เมี่ยนในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่หนาแน่ที่สุดในจังหวัดเชียงรายน่านพะเยา ลำปาง กำแพงเพชร เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก และเพชรบูรณ์ ชาวเมื่ยนที่อยู่ในไทยไม่มีกลุ่มย่อยจึงมีภาษาพูดเพียงภาษาเดียวสำเนียงเดียวกันแต่งกายแบบเดียวกันถือขนบธรรมเนียมเหมือนกันแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยตามท้องถิ่นเท่านั้นและชาวเขาเผ่าเมี่ยนเป็นเผ่าที่มีภาษาเขียนดั้งเดิมโดยใช้ตัวอักษรจีน

    ประวัติความเป็นมา

    เย้า เรียกตัวเองว่า เมี่ยน (Mien) แปลว่า คน ราชวงศ์ซ่ง (Sung Dynasty) ของจีนมักเรียกว่า เย้า มาจากคำว่า ม่อเย้า หมายถึง ไม่อยู่ในอำนาจใคร เดิมเย้ามีแหล่งกำเนิดแถบตอนกลางของจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียว และลุ่มน้ำฮั่นเจีย ต่อมากระจายตัวอยู่มณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี และกุ้ยโจว และได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของเวียดนาม พม่า ลาว และอพยพจากลาวเข้าสู่ไทย เมื่อประมาณ 145 ปีมาแล้ว ระยะแรกตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดอยหลวง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นจึงย้ายถิ่นฐานไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และลำปาง ในประเทศไทยมีเย้าอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่ม เบี้ยนเย้า หรือ พ่านเย้า
                           


    การแต่งกาย

    ผู้หญิง เย้า มีการแต่งกายที่ดูเด่น แปลกตา ด้วยการโพกศีรษะด้วยผ้าพิเศษมีทั้งสีแดง น้ำเงินปนดำ พันทับกันหลายชั้น และมีลายปักตรงปลายทั้งสองข้างอย่างงดงาม สวมใส่เสื้อคลุมยาวสีดำ ติดไหมพรมสีแดง เป็นแนวทางยาวรอบคอลงมาด้านหน้าถึงหน้าท้อง สวมกางเกงขายาวสีดำปนน้ำเงิน ด้านหน้าของกางเกงปักลวดลายที่ละเอียดประณีตมากมีหลายสีสลับกัน ใช้ผ้าพันคาดเอวหลายๆรอบ นิยมประดับด้วยเครื่องประดับเงิน เช่น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยแขน กำไล และแหวน
    ผู้ชายเย้านิยมนุ่งกางเกงจีนขายาวสีดำ สวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมที่คอและรักแร้เป็นแนวถึงเอว

    ความเชื่อ

    ความ เชื่อแบบดั้งเดิมของเย้าคือ ความเชื่อเกี่ยวกับผี (Animism) โดยเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งสิ้น มีทั้งผีดีและผีร้าย แต่ผีที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ ผีใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมด 18 ตน ในพิธีใหญ่จะมีการนำภาพผีใหญ่มาประดิษฐานในพิธีนั้นๆ และหมอผีผู้ประกอบพิธีจะต้องแต่งตัวใส่ชุดใหญ่ด้วย เย้าเชื่อว่า มนุษย์เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณจะเดินทางไปสู่โลกของความตาย ซึ่งมีทั้งแดนที่ดี คือแดนสวรรค์และแดนไม่ดีคือแดนนรก นอกจากนี้เย้ายังเชื่อว่าตามร่างกายของคนเรานั้น มีขวัญประจำตัวอยู่ตั้งแต่แรกเกิด เรียกว่า "ขวัญเปี้ยง" เมื่อเด็กอายุได้ 12 ปี จะมีพิธีรับขวัญของคนหนุ่มสาวเรียกว่า "ขวัญว่วน" ซึ่งเชื่อว่ามีจำนวน 11 ขวัญ ขวัญเหล่านี้จะอยู่กับร่างกายตลอดไปจนกระทั่งตาย เมื่อตายไปแล้วก็จะกลายเป็นวิญญาณไปเกิดในภพใหม่
    เย้าได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีนเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษาเขียน ภาษาพูด ปรัชญาชีวิต วรรณคดี และพิธีกรรมบางอย่างที่แฝงด้วยลัทธิเต๋า และมีคัมภีร์คำสอนที่จารึกด้วยอักษรจีนด้วย
    พิธีกรรมสำคัญ

    เย้ามีพิธีกรรมที่สำคัญหลายอย่าง เช่น
    พิธีบวช จะจัดขึ้นในช่วงหลังจากเสร็จการเก็บเกี่ยวพืชผลเรียบร้อยแล้ว ให้กับกลุ่มผู้ชายที่อยู่ในสายสกุลเครือญาติเดียวกันและอยู่ในลำดับชั้นรุ่น เดียวกัน เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษ บิดามารดา และสร้างเสริมคุณธรรมทางจิตวิญญาณให้สูงขึ้น การบวชมี 2 อย่างคือ การบวชน้อย จะใช้เวลา 2-3 วัน และการบวชใหญ่ (พิธีโตไซ) จะใช้เวลานานถึง 7 วัน นอกจากนี้ก็มีพิธีแต่งงาน พิธีวันปีใหม่ (ถือตามคติของจีน คือตรงกับตรุษจีนของทุกๆปี) พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีกินข้าวใหม่ พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ (จะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย) และพิธีเลี้ยงผีฟ้า เป็นต้น

    ข้อควรปฏิบัติ

    1. ห้ามเข้าหมู่บ้านที่มีไม้กั้นตรงทางเข้าหมู่บ้าน (ปกติจะปิดกั้นในวันแรกของวันปีใหม่)
    2. ห้ามเข้าบ้านที่มีเครื่องหมายเฉลว หรือ ตะแหลว ปักอยู่หน้าประตูบ้าน
    3. ห้ามนำผลิตผลที่เย้าเก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกมารับประทาน
    4. ห้ามรับประทานเนื้อสุนัขในหมู่บ้าน
    5. ห้ามยิงปืนในหมู่บ้าน
    6. ห้ามจับหิ้งผี และห้ามถ่ายรูปหรือจับภาพผีใหญ่ ก่อนได้รับอนุญาต
    7. ห้ามปีนยุ้งข้าวหรือยุ้งข้าวโพด


    น.ส.ฐิตินันท์   สง่าทอง  เลขที่  10   ม.5/8


    วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    อาข่า

    อาข่า
                  อาข่า เป็น ชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากไหนไม่ทราบแน่ชัด แต่มีชาวอาข่าอาศัยกระจัดกระจายอยู่ ในภาคเหนือของประเทศไทย, เชียงตุง, รัฐฉาน ของประเทศพม่า และทางแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน ภาษาอาข่าจัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน แต่ก็ไม่ใช่ภาษาจีนเสียทีเดียว อาข่าโดยส่วนมากจึงพูดได้หลายภาษาเพราะต้องอาศัยปะปนกับหลายชนเผ่า
    อาข่าแบ่งผู้ชายออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 13 ปี เรียกว่า “ อ่าลี หญ่า ” แปลว่าเด็กชายและหลังจาก 13 ปีขึ้นไปเรียกว่า “ ห่า เจ๊ หญ่า โย ” แปลว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว ในส่วนของผู้หญิงอ่าข่าได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงของชีวิต ช่วงแรก เรียกว่า “ อ่าบู๊หญ่า ” แปลว่า เด็กน้อย ซึ่งมีอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 13 ปี พออายุตั้งแต่ 13 ปีถึง 18 ปี เรียกว่า “ หมี่ เตอ เตอ จ๊อ ” แปลว่า เข้าสู่วัยสาว และเมื่อเข้าสู่อายุตั้งแต่ 18 ปีถึง 25 ปี เรียกว่า “ จ๊อมา หมี่ โล้ ” แปลว่าหญิงสาวที่พร้อมจะออกเรือนแล้ว และหากหญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป อ่าข่าเรียกว่า “ หมี่ ดะ ดะ โอ้ว ” หรือ “ หมี่ ดะ ช้อ หม่อ ” แปลว่าสาวแก่ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงช่วงอายุดูได้จากการแต่งกาย เช่น หมวก เป็นต้น

    ความเชื่อ
                        ความเชื่อในภาษาอาข่าเรียกว่า "นือจอง" อาข่าเป็นชนเผ่าที่มีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ ภูตผี ปีศาจ ไสยศาสตร์ สิ่งเร้นลับ พิธีกรรมคำสอนที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพบุรุษ และสืบทอดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผี "แหนะ" ตามความเชื่อของอาข่า

    สภาพปัจจุบัน
                          ปัจจุบันอาข่ายังมีการใช้หลักความเชื่อในการดำรงชีวิตอยู่ แต่อาข่าบางส่วนก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม เพราะการนับถือดั้งเดิมจะต้องเคร่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งต้องใช้สัตว์ต่างๆ ในการทำพิธีเซ่นไหว้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุทำให้อาข่าจำเป็นต้องทิ้งความเชื่อดั้งเดิม แล้วหันไปนับถือศาสนาอื่น

    ลักษณะนิสัย

    อาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่าและมีความสุขมากที่สุด เนื่องจากภูมิประเทศที่อยู่อาศัยเป็นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี พวกเขาจะมองเห็นความงดงามของธรรมชาติรอบข้างตลอดชีวิต


    • จึงทำให้พวกเขามีจิตใจที่เบิกบานอยู่เสมอแม้ว่าชีวิตในแต่ละวันจะมุ่งอยู่กับงานที่หนักหนาเพียงใดก็ตาม เมื่อมองออกไปเบื้องหน้าก็จะเห็นแต่ภูเขาที่สูงตระหง่าน มองดูสลับซับซ้อนไปจนสุดตาซึ่งจะเปลี่ยนสีสันไปตามฤดูกาลทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและคลายความเหน็ดเหนื่อยลงได้
    • อาข่าเป็นกลุ่มชนที่มีจิตใจดีงามเสมอ รักธรรมชาติ รักความสงบและชอบสันโดษ ไม่ชอบความรุนแรง เป็นชาวเขาเพียงเผ่าเดียวที่มีการติดต่อกับคนนอกเผ่าน้อยที่สุด ชาวอาข่ามีความสุขได้ทุกเมื่อแม้ในยามเดินทางกลับบ้านเพียงผู้เดียวก็จะร้องเพลงดังๆ เพื่อปลอบใจตนเอง ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของชนเผ่าอาข่าคือการร้องเพลงตอบโต้ในระหว่างหนุ่มสาวที่กำลังทำไร่อยู่คนละดอย หรือผู้อาวุโสร้องเพลงเพื่อสั่งสอนลูกหลานให้รู้ถึงตำนานของชาวอาข่า เป็นต้น
    • เสียงดนตรีที่เร้าใจ เช่น แคนน้ำเต้าและขลุ่ยหรือเครื่องเป่าชนิดอื่นๆ ประกอบกับการเต้นรำด้วยจังหวะช้าๆ ในคืนเดือนหงายบนลานสาวกอด หรือในยามที่มีประเพณีต่างๆบนดอย จะชวนให้เด็กและหนุ่มสาวผู้มีดนตรีในหัวใจออกมาร้องเพลงอย่างสนุกสนาน
    • เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นบนยอดดอยสูงซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกเขาจึงทำให้พวกชาวอาข่าไม่ชอบอาบน้ำกันบ่อย ในปีหนึ่งพวกเขาจะอาบน้ำกันปีละหนึ่งถึงสองครั้งเท่านั้น และบางครั้งก็เป็นเพียงแค่เอาน้ำลูบหน้าและศีรษะเท่านั้นก็เสร็จ ดังนั้นการทำความสะอาดฟันก็ไม่มีเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่ชาวอาข่านิยมกินหมากเพื่อเป็นการรักษาปากและฟัน แต่สำหรับคนหนุ่มสาวนิยมใส่ฟันทองกันมากกว่า
    • ในอดีตชีวิตของกลุ่มชุมชนชาวอาข่ามักจะขาดคุณภาพชีวิตอยู่มากไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การรักษาสุขภาพอนามัยก็ตามดังนั้น ชาวอาข่าจึงเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตายกันบ่อยๆ แต่พวกเขาจะเชื่อว่าเป็นการกระทำของผีป่าหรือผีบ้านเสมอ จึงต้องมีหมอผีประจำหมู่บ้านขึ้น
    • ชาวอาข่าเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากภูตผีได้จับเอาขวัญของคนไว้เพราะเชื่อว่าในคนๆหนี่งจะมีขวัญอยู่ 12 ขวัญ หากผีจับเอาขวัญของคนไว้เพียงขวัญเดียว ก็จะทำให้คนๆนั้นล้มป่วยลงได้ ถ้าขวัญทั้ง 12 ออกจากร่างไปเมื่อใดก็หมายถึงความตายทันที วิธีรักษาก็จะต้องอาศัยหมอผีช่วยตรวจดูว่าผีใดเป็นต้นเหตุแห่งการเจ็บป่วยและต้องการเครื่องเซ่นอะไร ก็จะจัดพิธีเซ่นไหว้ตามแต่จะต้องการให้จนกว่าจะหายป่วยเป็นปกติ
    • ในปัจจุบันเมื่อทางการได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและด้านการสาธารณะสุขในหมู่บ้านชาวเขาบนดอยจึงทำให้คุณภาพชีวิตชาวอาข่าดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่วนมากจะหันมาใช้ยาแผนปัจจุบันรักษาโรคต่างๆ ตลอดจนนิยมใช้โรงพยาบาลในเมืองมากขึ้น เป็นต้น
    • เนื่องจากธรรมชาติได้สอนให้ชาวอาข่ามีความถนัดในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวโพด และพืชไร่ตลอดจนพืชผักต่างๆ ชาวอาข่าจะนิยมปลูกบนไหล่เขาบนดอยสูงและจะอดทนกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ดีกว่าสภาพอากาศที่ร้อน ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่สบายได้ง่ายด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ชาวอาข่าไม่ค่อยจะลงไปจากดอยบ่อยนัก การคบหาสมาคมกับผู้คนพื้นราบจึงน้อยลงไปด้วย
    • การกินเนื้อสุนัขสีดำ อาข่าถือว่าเป็นว่าสิ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอบอุ่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พวกเขาจึงนิยมกินเนื้อสุนัขกินเนื้อสุนัขสีดำกันเสมอ โดยเฉพาะในหญิงที่คลอดบุตรใหม่ๆ มักจะให้กินเนื้อสุนัข ทั้งนี้เชื่อว่าเพื่อที่จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวและเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วนั่นเอง
    • สังคมอาข่าจะปลูกฝังให้ทุกคนต้องเคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอนของบรรพบุรุษสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ในรอบปีหนึ่งๆ ชาวอาข่าจะมีพิธีกรรมอยู่มากมายที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งผู้อาวุโสจะจดจำและถ่ายทอดไปสู่รุ่นหลานได้หมดสิ้น
    • ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของชาวอาข่าคือการสูบยาเส้น หญิงสาวอาข่ามักจะปลูกต้นยาสูบ เก็บใบไปหั่นตากแห้งเอาไว้ใส่ในกล่องยาสูบซึ่งทำขึ้นเอง กลิ่นยาเส้นของชาวอาข่า อาจจะทำให้คนนั่งใกล้ทนไม่ได้ซึ่งเป็นสาเหตูหนึ่งที่ทำให้ชาวอาข่ารู้สึกว่าถูกรังเกียจเหยียดหยาม
    • แต่ถ้าหากมีโอกาสขึ้นไปเยี่ยมบ้านของชาวอาข่าเขาก็จะรับรองแขกด้วยน้ำชาเป็นอันดับแรกเสมอ นอกจากนี้เหล้าก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในสังคมอาข่า “ยินะ” หรือเหล้า มักมีบทบาททุกครั้งในพิธีกรรมต่างๆของชาวอาข่า แต่จะไม่มีการดื่มเหล้าจนเมามายซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นเรื่องน่าละอายอย่างมาก
    • ชาวอาข่ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสงบและเชื่อฟังผู้นำอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในเรื่องของพิธีกรรม และประเพณีของเผ่า ชาวอาข่ามักจะเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์ทั้งหลายในป่าเขาเป็นผู้คุ้มครองให้ชาวบ้านในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุขได้ หากมีการทำผิดหรือหลบหลู่ผีบรรพบุรุษจะทำให้เดือดร้อนจนเจ็บป่วยได้ ดังนั้นชาวอาข่าจึงกระทำพิธีเซ่นไหว้ขอขมาและจัดเลี้ยงผีอยู่เสมอ
    อ้างอิงจาก http://www.cmdiocese.org/th/_/ethnic/akha/34-34
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2

    โดย นายพงสกร หรั่งทอง ม.5/8 เลขที่45

    วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



    ความหมายของชาติพันธุ์ ชาติพันธุ์คืออะไร ชาติพันธุ์หมายถึง


    คำว่า "ชาติพันธุ์" และ "ชาติพันธุ์วิทยา" เป็นคำใหม่ในภาษาไทยการทำความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์จำเป็นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติ อาจเปรียบเทียบเชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์ได้ดังนี้

    เชื้อชาติ (race) คือ ลักษณะทางชีวภาพของคน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่ม เชื้อชาติ (racial group) มักแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอเคซอยด์ (Caucasoid) ในตอนหลังได้เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) โพลินีเชียน (Polynesian) ฯลฯ อีกด้วย

    การแบ่งแยกกลุ่มคนตามลักษณะทางชีวภาพนี้ มีความสำคัญในสังคมที่สมาชิกในสังคมมาจากบรรพบุรุษที่ต่างกัน และมีสีผิวและรูปพรรณสัณฐานที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ ในสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชีวภาพต่างกันและประวัติความเป็นมาตลอดจนบทบาทในสังคมต่างกัน ความแตกต่างทางชีวภาพอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันได้ แต่ในบางสังคม เช่น สังคมไทย ความแตกต่างทางชีวภาพไม่มีความหมายเท่าใดนัก

    สัญชาติ (nationality) คือ การเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันได้ การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึงการเป็นประชาชนของประเทศนั้น ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้ ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติ คือ ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็นประชาชนของประเทศหนึ่งมาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง

    ชาติพันธุ์ (ethnicity หรือ ethnos) คือ การมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีนลาว เป็นต้น

    กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มวัฒนธรรมมีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน รวมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อมๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์

    และในขณะเดียวกันก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นับถือศาสนาเดียวกันความรู้สึกผูกพันนี้อาจเรียกว่า "สำนึก" ทางชาติพันธุ์ หรือชาติลักษณ์ (ethnic identity)

    วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

    อึ้ง!...โดนงูแมวเซากัดจะทำให้ดูเด็กลง



    วารสารแลนเซต วารสารทางการแพทย์ชั้นนำของโลกระบุผลวิจัยแสนน่าทึ่งที่ว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากการถูกงูแมวเซากัดกว่า 29 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถทนต่อสภาวะการขาดของฮอร์โมนที่สร้างจาก anterior และ/หรือ posterior pituitary ทั้งชายและหญิงจะกลับมาดูเด็กลงได้ ผู้หญิงจะน้ำหนักลด จะมีความต้องการทางเพศเหมือนกลับสู่ภาวะเจริญพันธุ์อีกครั้ง
    งูแมวเซานั้นก็เลื่องชื่อในการพ่นพิษปริมาณ เมื่อมันกัดจะทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลัน และเกิดแผลพุพองบริเวณโดยรอบที่ถูกกัด ความดันเลือดจะต่ำลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลง เกิดการอาเจียนและในหน้าบวม นอกจากนี้ยีงมีผลให้ไตวาย เกิดอาการตกเลือด และบ่อยครั้งที่จะมีผลต่อต่อมใต้สมอง และต่อมนี้เองที่แม้มีขนาดเล็กเพียงเมล็ดถั่วแต่เป็นต่อมที่ควบคุมฮอร์โมนการเจริญเติบโตและอวัยวะเกี่ยวกับเพศ
    สำหรับงูแมวเซานี้พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย งูแมวเซานั้นเป็นงูที่เชื่อง แต่มันจะก้าวร้าวเมื่อถูกอุ้มยกขึ้น เมื่ออยู่ในสภาวะตกใจมันจะขู่ฟ่อเสียงดังที่สุดในบรรดางูทั้งหมด อาศัยอยู่ในหญ้ารก และมักถูกพบตามสวนฟาร์มของคน ส่วนอาหารของมันคือหนู กระรอก จิ้งจก ตุ๊กแก
    คำเตือน : งูแมวเซา เป็นงูที่มีพิษต่อผลการแข็งตัวของเลือด มีผลต่อไต ทำให้เกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.mthai.com
    โดย  นางสาว ปริญดา จาดเนือง ม.5/8 เลขที่ 20